เมนู

พระสัพพัญญุตญาณที่โพธิมัณฑ์นี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า อวิทูเรนิทาน ด้วย
ประการฉะนี้.
จบอวิทูเรนิทานกถา

สันติเกนิทานกถา


ก็สันติเกนิทาน ท่านกล่าวว่า ย่อมได้เฉพาะในที่นั้น ๆ อย่างนี้ว่า
"สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระเชตวันอันเป็นอารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้กรุงสาวัตถี" ดังนี้ และว่า " ประทับอยู่
ในกูฎาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้กรุงเวสาลี" ดังนี้, ท่านกล่าวไว้อย่างนี้.
ก็จริง แต่ถึงอย่างนั้น สันติเกนิทานแม้นั้น พึงทราบตั้งแต่ต้นอย่างนี้.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทับนั่งบนชยบัลลังก์ ทรงเปล่งอุทาน
แล้วได้มีพระดำริอย่างนี้ว่า เราแล่นไปถึงสื่อสงไขยแสนกัป ก็เพราะเหตุ
บัลลังก์นี้ เพราะเหตุบัลลังก์นี้แหละ เราได้ตัดศีรษะอันประดับแล้วที่คอ
ให้ไปแล้ว ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ เราควักนัยน์ตาที่หยอดดีแล้ว และ
เชือดหทัยให้ไปแล้ว ให้บุตรเช่นกับชาลีกุมาร ให้ธิดาเช่นกับกัณหาชินา
กุมารีและให้ภริยาเช่นกับพระมัทรีเทวี เพื่อเป็นทาสของคนอื่น ๆ บัลลังก์
ของเรานี้ เป็นบัลลังก์ชัย เป็นบัลลังก์มั่นคง เมื่อเรานั่งบนบัลลังก์นี้แล้ว
ความดำริเต็มบริบูรณ์ เราจักไม่ออกจากบัลลังก์นี้ก่อน ดังนี้ พระองค์จึง
ประทับนั่งเข้าสมาบัติหลายแสนโกฏิ ณ บัลลังก์นั้นนั่นแหละตลอด 7 วัน

ซึ่งท่านหมายกล่าวได้ว่า ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งเสวย
วิมุตติสุข โดยบัลลังก์เดียวตลอดสัปดาห์.
ครั้งนั้น เทวดาบางพวก เกิดความปริวิตกขึ้นว่า แม้วันนี้ พระ-
สิทธัตถะก็ยังมีกิจที่จะต้องทำอยู่เป็นแน่ เพราะยังไม่ละความอาลัยใน
บัลลังก์ พระศาสดาทรงทราบความปริวิตกของเทวดาทั้งหลาย เพื่อจะทรง
ระงับความปริวิตกของเทวดาเหล่านั้น จึงทรงเหาะขึ้นสู่เวหาส ทรงแสดง
ยมกปาฏิหาริย์. จริงอยู่ ปาฏิหาริย์ที่ทรงกระทำที่มหาโพธิมัณฑ์ก็ดี ปาฏิ-
หาริย์ที่ทรงกระทำในสมาคมพระญาติก็ดี ปาฏิหาริย์ที่ทรงกระทำในสมาคม
ชาวปาตลีบุตรก็ดี ทั้งหมดได้เป็นเช่นกับยมกปาฏิหาริย์ที่ทรงกระทำที่ควง
ไม้คัณฑามพพฤกษ์.
พระศาสดาครั้นทรงระงับความวิตกของเทวดาทั้งหลาย ด้วยปาฏิ-
หาริย์นี้อย่างนี้แล้ว จึงประทับยืนทางด้านทิศเหนือติดกับทิศตะวันออก
เยื้องจากบัลลังก์ไปเล็กน้อย ทรงพระดำริว่า เราแทงตลอดพระสัพพัญ-
ญุตญาณ ที่บัลลังก์นี้หนอ จึงทรงลืมพระเนตรแลดูบัลลังก์และต้นโพธิ์
อันเป็นสถานที่บรรลุผลแห่งบารมีทั้งหลาย ที่ทรงบำเพ็ญมาสี่อสงไขย-
แสนกัป ทรงยับยั้งอยู่ตลอดสัปดาห์. สถานที่นั้นจึงชื่อว่า อนิมิสเจดีย์.
ลำดับนั้น พระศาสดาทรงนิรมิตที่จงกรมในระหว่างบัลลังก์กับ
สถานที่ที่ประทับยืน ทรงจงกรมอยู่บนรัตนจงกรมอันยาวจากทิศตะวันออก
จรดทิศตะวันตก ยับยั้งอยู่ตลอดสัปดาห์ สถานที่นั้นจึงชื่อว่า รัตนจงกรม-
เจดีย์.

ก็ในสัปดาห์ที่ 4 เทวดาทั้งหลายนิรมิตเรือนแก้วทางด้านทิศพายัพ

จากต้นโพธิ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนั่งขัดสมาธิในเรือนแก้วนั้น ทรง
พิจารณาพระอภิธรรมปิฎก และพระสมันตปัฏฐานอนันตนัยในพระ-
อภิธรรมปิฎกนั่นโดยพิเศษ ทรงยับยั้งอยู่ตลอดสัปดาห์. ส่วนนักอภิธรรม
ทั้งหลายกล่าวว่า ที่ชื่อว่าเรือนแก้ว ไม่ใช่เรือนที่ทำด้วยแก้ว 7 ประการ
แต่สถานที่ที่ทรงพิจารณาปกรณ์ทั้ง 7 เรียกว่าเรือนแก้ว. แต่เพราะเหตุที่
ท่านประยุกต์เรื่องทั้งสองนั้นเข้าไว้ในที่นี้โดยปริยาย เพราะฉะนั้น ควร
ถือเอาทั้งสองเรื่องนั้นนั่นแหละ. ก็จำเดิมแต่นั้นมา สถานที่นั้นจึงชื่อว่า
รัตนฆรเจดีย์.
พระศาสดาทรงยับยั้งอยู่ 4 สัปดาห์เฉพาะบริเวณใกล้ต้นโพธิ์เท่านั้น
ด้วยประการอย่างนี้ ในสัปดาห์ที่ 5 เสด็จจากควงไม้โพธิ์ไปยังไม้
อชปาลนิโครธ ประทับนั่งพิจารณาพระธรรมและเสวยวิมุตติสุข ณ ต้น
อชปาลนิโครธแม้นั้น.
สมัยนั้น มารผู้มีบาปคิดว่า เราติดตามอยู่ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้
แม้จะเพ่งมองหาช่องอยู่ ก็ไม่ได้เห็นความพลั้งพลาดอะไร ๆ ของสิทธัตถะ
นี้ บัดนี้ สิทธัตถะนี้ก้าวล่วงพ้นอำนาจของเราเสียแล้ว จึงถึงความโทมนัส
นั่งอยู่ในหนทางใหญ่ เมื่อคิดถึงเหตุ 16 ประการ จึงขีดเส้น 16 เส้น
ลงบนแผ่นดิน คือคิดว่า เราไม่ได้บำเพ็ญทานบารมีเหมือนสิทธัตถะนี้
เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่เป็นเหมือนสิทธัตถะนี้ ดังนี้ แล้วขีดลงไปเส้น
หนึ่ง. อนึ่ง คิดว่า เราไม่ได้บำเพ็ญศีลบารมี ฯลฯ เนกขัมบารมี ปัญญา-
บารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี
อุเบกขาบารมี เหมือนสิทธัตถะนี้ เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่เป็นเหมือน
สิทธัตถะนี้ ดังนี้แล้วขีดเส้น (ที่ 2 ถึงเส้น ) ที่ 10. อนึ่ง คิดว่า เราไม่

ได้บำเพ็ญบารมี 10 อันเป็นอุปนิสัยแก่การแทงตลอดอินทริยปโรปริยัตติ-
ญาณอันไม่ทั่วไปแก่คนอื่น เหมือนสิทธัตถะนี้ เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่
ได้เป็นเช่นกับสิทธัตถะนี้ ดังนี้แล้วขีดเส้น ที่ 11. อนึ่ง คิดว่า เราไม่ได้
บำเพ็ญบารมี 10 อันเป็นอุปนิสัยแก่การแทงตลอดอาสยานุสยญาณ ฯลฯ
มหากรุณาสมาปัตติญาณ ยมกปาฏิหาริยญาณอนาวรณญาณและสัพพัญญุต-
ญานอันไม่ทั่วไปแก่คนอื่น เหมือนดังสิทธัตถะนี้ เพราะเหตุนั้น เราจึง
ไม่เป็นเช่นกับสิทธัตถะนี้ ดังนี้แล้ว ขีดเส้นที่ 12 ถึงเส้นที่ 16. มารนั่ง
ขีดเส้น 16 เส้นอยู่ที่หนทางใหญ่ เพราะเหตุดังกล่าวมานี้ ด้วยประการฉะนี้.
ก็สมัยนั้นธิดาของมาร 3 นาง คือ นางตัณหา นางราคา และ
นางอรดี คิดว่า บิดาของพวกเราไม่ปรากฏ บัดนี้ อยู่ที่ไหนหนอ จึงพา
กันมองหา ได้เห็นบิดาผู้มีความโทมนัสนั่งขีดแผ่นดินอยู่ จึงพากันไปยัง
สำนักของบิดาแล้วถามว่า ท่านพ่อ เพราะเหตุไร ท่านพ่อจึงเป็นทุกข์
หม่นหมองใจ. มารกล่าวว่า ลูกเอ๋ย มหาสมณะนี้ ล่วงพ้นอำนาจของ
เราเสียแล้ว พ่อคอยดูอยู่ตลอดเวลาประมาณเท่านี้ ไม่อาจได้เห็นช่องคือ
โทษของมหาสมณะนี้ เพราะเหตุนั้น พ่อจึงเป็นทุกข์หม่นหมองใจ. ธิดา
มารกล่าวว่า ถ้าเมื่อเป็นอย่างนั้น ท่านพ่ออย่าเสียใจเลย ลูก ๆ จักทำ
มหาสมณะนั้นไว้ในอำนาจของตน ๆ แล้วพามา. มารกล่าวว่า ลูกเอ๋ย
มหาสมณะนี้ ใคร ๆ ไม่อาจทำไว้ในอำนาจได้ บุรุษผู้นี้ตั้งอยู่ในศรัทธา
อันไม่หวั่นไหว. ธิดามารกล่าวว่า ท่านพ่อ พวกลูกชื่อว่าเป็นสตรี
ลูก ๆ จักเอาบ่วงคือราคะเป็นต้น ผูกมหาสมณะนั้น นำมาเดี๋ยวนี้แหละ.
ท่านพ่ออย่าคิดไปเลย ครั้นกล่าวแล้วจึงเข้าไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลว่า
ข้าแต่พระสมณะ พวกข้าพระบาทจะบำเรอบาทของพระองค์. พระผู้มี-

พระภาคเจ้ามิได้ทรงใส่ใจถึงคำของพวกนาง ทรงไม่ทรงลืมพระเนตรแลดู
ทรงนั่งเสวยสุขอันเกิดแต่วิเวกอย่างเดียว เพราะทรงน้อมพระทัยไปใน
ธรรมเป็นเครื่องสิ้นไปแห่งอุปธิอันยอดเยียม.
ธิดามารคิดกันอีกว่า ความประสงค์ของพวกผู้ชายเอาแน่ไม่ได้ บาง
พวกมีความรักหญิงเด็ก ๆ บางพวกรักหญิงผู้อยู่ในปฐมวัย บางพวกรัก
หญิงผู้อยู่ในมัชฌิมวัย บางพวกรักหญิงผู้อยู่ในปัจฉิมวัย ถ้ากระไร พวก
เราควรเอารูปต่างอย่างเข้าไปล่อแล้วยึดเอา จึงนางหนึ่ง ๆ นิรมิตอัตภาพ
ของตนๆ โดยเป็นรูปหญิงวัยรุ่นเป็นต้น คือเป็นหญิงวัยรุ่นเป็นหญิงยังไม่
คลอด เป็นหญิงคลอดคราวเดียว เป็นหญิงคลอดสองคราว เป็นหญิง
กลางคน และเป็นหญิงผู้ใหญ่ เข้าไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้าถึง 6 ครั้ง
แล้วทูลว่า ข้าแต่พระสมณะ ข้าพระบาททั้งหลาย จะบำเรอบาทของ
พระองค์ แม้ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็มิได้ทรงใส่พระทัย โดยปะ-
การที่ทรงน้อมพระทัยไปในธรรมเครื่องสิ้นไปแห่งอุปธิอันยอดเยี่ยม
ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นธิดามาร
เหล่านั้นเข้าไปหา โดยเป็นหญิงผู้ใหญ่ จึงทรงอธิษฐานว่า หญิงเหล่านี้
จงเป็นคนฟันหักมีผมหงอก. คำของเกจิอาจารย์นั้น ไม่ควรเชื่อถือ. เพราะ
พระผู้มีพระภาคเจ้าจะได้ทรงกระทำอธิษฐานเห็นปานนั้นก็หามิได้ แต่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พวกเธอจงหลีกไป พวกเธอเห็นอะไรจึงพยายาม
อย่างนี้ ควรทำกรรมชื่อเห็นปานนี้ เบื้องหน้าของคนผู้ยังไม่ปราศจาก
ราคะเป็นต้น ก็ตถาคตละราคะ โทสะ โมหะแล้ว จึงทรงปรารภถึงการ
ละกิเลสของพระองค์ ทรงแสดงธรรมตรัสคาถา 2 คาถา ในพุทธวรรค
ธรรมบท ดังนี้ว่า

ความชนะอันผู้ใดชนะแล้วไม่กลับแพ้ ใคร ๆ จะนำความ
ชนะของผู้นั้นไปไม่ได้ในโลก ท่านทั้งหลายจักนำพระพุทธเจ้า
พระองค์นั้น ผู้มีอารมณ์ไม่มีที่สุด ผู้ไม่มีร่องรอย ไปด้วย
ร่องรอยอะไร.
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ไม่มีตัณหาดุจข่าย ส่ายไปใน
อารมณ์ต่าง ๆ เพื่อจะนำไปในที่ไหน ท่านทั้งหลายจักนำ
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีอารมณ์ไม่มีที่สุด ผู้ไม่มีร่องรอย
ไปด้วยร่องรอยอะไร ดังนี้.

ธิดามารเหล่านั้นพากันกล่าวคำนั้นอาทิว่า นัยว่า เป็นความจริง บิดา
ของพวกเราได้กล่าวไว้ว่า พระอรหันต์สุคตเจ้าในโลก ใคร ๆ จะนำไป
ง่าย ๆ ด้วยราคะ. หาได้ไม่ ดังนี้แล้วพากันกลับมายังสำนักของบิดา.
ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยับยั้งอยู่ที่อชปาลนิโครธนั้นนั่นแหละ
ตลอดสัปดาห์ แต่นั้นได้เสด็จไปยังโคนไม้มุจลินท์. ณ ที่นั้น เกิดฝน
พรำอยู่ตลอด 7 วัน เพื่อจะป้องกันความหนาวเป็นต้น พญานาค ชื่อ
มุจลินท์ เอาขนดวง 7 รอบ ทรงเสวยวิมุตติสุขอยู่เหมือนประทับอยู่ใน
พระคันธกุฎีอันไม่คับแคบ ทรงยับยั้งอยู่ตลอดสัปดาห์ แล้วเสด็จเข้าไป
ยังต้นราชายตนะ แม้ ณ ที่นั้นก็ทรงยับยั้งเสวยวิมุตติสุขอยู่ตลอดสัปดาห์.
โดยลำดับกาลเพียงเท่านี้ก็ครบ 7 สัปดาห์บริบูรณ์.
ในระหว่างนี้ไม่มีการสรงพระพักตร์ ไม่มีการปฏิบัติพระสรีระ ไม่มี
กิจด้วยพระกระยาหาร แต่ทรงยับยั้งอยู่ด้วยฌานสุขและผลสุขเท่านั้น.
ครั้นในวัน ที่ 49 อัน เป็นที่สุดของ 7 สัปดาห์นั้น พระผู้มีพระภาค-
เจ้าประทับนั่งอยู่ที่ต้นราชายตนะนั้น เกิดพระดำริขึ้นว่าจักสรงพระพักตร์.

ท้าวสักกะจอมเทพ ได้ทรงนำผลสมออันเป็นยาสมุนไพรมาถวาย. พระ-
ศาสดาเสวยผลสมอนั้น ด้วยเหตุนั้น พระองค์จึงได้มีการถ่ายพระบังคน
หนัก. ลำดับนั้น ท้าวสักกะนั้นแลได้ถวายไม้ชำระพระทนต์ ชื่อนาคลดา
และน้ำบ้วนพระโอษฐ์ น้ำสรงพระพักตร์แก่พระองค์ พระศาสดาทรง
เคี้ยวไม้ชำระพระทนต์นั้น แล้วบ้วนพระโอษฐ์ สรงพระพักตร์ด้วย
น่าจากสระอโนดาต เสร็จแล้วยังคงประทับนั่งอยู่ที่โคนไม้ราชายตนะนั้น
นั่นแหละ.
สมัยนั้น พาณิช 2 คนชื่อ ตปุสสะ และ ภัลลิกะ เดินทางจาก
อุกกลชนบท จะไปยังมัชฌิมประเทศ ด้วยเกวียน 500 เล่ม ผู้อันเทวดา
ผู้เป็นญาติสายโลหิตของตนในชาติก่อน กั้นเกวียนไว้ ให้มีความอุตสาหะ
ในการจัดพระกระยาหารถวายแด่พระศาสดา จึงถือเอาข้าวตูก้อนและขนม
น้ำผึ้ง (ขนมหวาน) แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ
พระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงอาศัยความอนุเคราะห์ รับพระกระยาหารของ
ข้าพระองค์ทั้งหลายเถิด ดังนี้แล้วน้อมถวายพระศาสดาแล้วยืนอยู่ เพราะ
บาตรได้อันตรธานหายไปในวันรับข้าวปายาส พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรง
ดำริว่า พระตถาคตเจ้าทั้งหลายย่อมไม่รับที่มือ เราจะรับที่อะไรหนอ.
ลำดับนั้น ท้าวมหาราชทั้ง 4 องค์จากทิศทั้ง 4 รู้พระดำริของพระผู้มี-
พระภาคเจ้า จึงน้อมถวายบาตรทั้งหลายอันแล้วด้วยแก้วอินทนิล พระผู้มี-
พระภาคเจ้าไม่ทรงรับบาตรเหล่านั้น ท้าวมหาราชทั้ง 4 จึงน้อมถวาย
บาตร 4 ใบ อันแล้วด้วยศิลามีสีดังถั่วเขียว เพื่อจะทรงอนุรักษ์ศรัทธา
ของท้าวมหาราชทั้ง 4 จึงทรงรับบาตรแม้ทั้ง 4 ใบ ทรงวางซ้อน ๆ
กัน แล้วทรงอธิษฐานว่า จงเป็นบาตรใบเดียว บาตรทั้ง 4 ใบจึงมีรอย

ปรากฏอยู่ที่ขอบปาก รวมเข้าเป็นใบเดียวกัน โดยประมาณบาตรขนาด
กลาง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับพระกระยาหารที่บาตรอันล้วนด้วยศิลา
มีค่ามากนั้น เสวยแล้วได้ทรงกระทำอนุโมทนา. พาณิชพี่น้องสองคนนั้น
ถึงพระพุทธเจ้าและพระธรรมเป็นสรณะ ได้เป็น ทเววาจิกอุบาสก
คืออุบาสกผู้กล่าวถึงสรณะสอง. ลำดับนั้น พาณิชทั้งสองคนนั้นกราบ
ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์โปรดประทานฐานะ อันควร
ที่จะพึงปรนนิบัติแก่ข้าพระองค์ทั้งสองด้วยเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้า
จงเอาพระหัตถ์ขวาลูบพระเศียรของพระองค์ แล้วได้ประทานพระเกศธาตุ
ทั้งหลายให้ไป. พาณิชทั้งสองนั้นบรรจุพระเกศธาตุเหล่านั้นไว้ภายใน
ผอบทองคำ ประดิษฐานพระเจดีย์ไว้ในนครของตน.
ก็จำเดิมแต่นั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จกลับไปยังต้นอชปาล-
นิโครธอีก แล้วประทับนั่งอยู่ที่ควงต้นนิโครธ. ครั้นเมื่อพระสัมมา-
สัมพุทธเจ้านั้นพอประทับนั่งที่ควงต้นนิโครธนั้นเท่านั้น ทรงพิจารณาถึง
ความที่ธรรมอันพระองค์ทรงบรรลุแล้วเป็นธรรมลึกซึ้ง ความตรึกอัน
พระพุทธเจ้าทั้งปวงเคยประพฤติกันมา ถึงอาการคือความไม่ประสงค์จะ
ทรงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น บังเกิดขึ้นว่า ธรรมนี้เราบรรลุได้โดยยาก
แล.
ลำดับนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม ทรงดำริว่า ท่านผู้เจริญ โลกจัก
พินาศหนอ ท่านผู้เจริญ โลกจักพินาศหนอ จึงทรงพาท้าวสักกะ ท้าว-
สุยามะ ท้าวสันดุสิต ท้าวนิมมานรดี ท้าววสวัตดี และท้าวมหาพรหม
ทั้งหลาย จากหมื่นจักรวาล เสด็จมายังสำนักของพระศาสดา ทูลอาราธนา

ให้ทรงแสดงธรรม โดยนัยเป็นต้นว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มี-
พระภาคเจ้าจงทรงแสดงธรรม.
พระศาสดาทรงให้ปฏิญญาแก่ท้าวสหัมบดีพรหมนั้น แล้วทรงดำริ
อยู่ว่า เราควรแสดงธรรมกัณฑ์แรก แก่ใครหนอ ทรงยังพระดำริให้เกิด
ขึ้นว่า อาฬารดาบส เป็นบัณฑิต เธอจักรู้ธรรมนี้ได้เร็วพลัน จึงทรง
ตรวจดูอีก ทรงทราบว่าอาฬารดาบสนั้นกระทำกาละได้ 7 วันแล้ว จึง
ทรงรำพึงถึง อุทกดาบส ได้ทรงทราบว่า แม้อุทกดาบสนั้นก็ได้กระทำ
กาละเสียเมื่อพลบคำวานนี้ จึงทรงมนสิการปรารภถึง พระปัญจวัคคีย์
ว่าภิกษุปัญจวัคคีย์มีอุปการะมากมายแก่เรา จึงทรงรำพึงว่า บัดนี้ ภิกษุ
ปัญจวัคคีย์เหล่านั้น อยู่ที่ไหนหนอ ได้ทรงทราบว่า อยู่ในป่าอิสิปตนมิค-
ทายวัน แขวงเมืองพาราณสี จึงเสด็จเที่ยวบิณฑบาตไปรอบ ๆ โพธิ-
มัณฑ์ประทับอยู่ 2 - 3 วัน แล้วทรงดำริว่า ในวันเพ็ญเดือน 8 เราจัก
ไปเมืองพาราณสี ประกาศพระธรรมจักร จึงในคิถีที่ 14 ค่ำแห่งปักษ์
เวลาปัจจุสมัยใกล้รุ่ง เมื่อราตรีสว่างตั้งขึ้นแล้ว พอเช้าตรู่ ทรงถือบาตร
และจีวรเสด็จดำเนินสิ้นหนทาง 18 โยชน์ ในระหว่างทาง ทรงพบ
อุปกอาชีวก จึงตรัสบอกถึงความที่พระองค์เป็นพระพุทธเจ้าแก่อุปก-
อาชีวกนั้น แล้วเสด็จถึงป่าอิสิปตนะในเวลาเย็นวันนั้นเอง.
พระปัญจวัคคีย์เห็นพระตถาคตเสด็จมาแค่ไกล ได้กระทำกติกากัน
ว่า นี่แน่ะอาวุโสทั้งหลาย พระสมณโคดมนี้เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก
ในปัจจัย มีร่างกายสมบูรณ์ มีอินทรีย์ผ่องใส มีวรรณดุจทอง กำลัง
เสด็จมา พวกเราจักไม่ทำสามีจิกรรม มีการไหว้เป็นต้นแก่พระสมณโคดม

นี้ แต่เธอประสูติในตระกูลใหญ่ ย่อมควรจัดอาสนะไว้ ด้วยเหตุนั้น
พวกเราปูลาดเพียงอาสนะไว้เพื่อเธอ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงรำพึงว่า ภิกษุปัจวัคคีย์เหล่านี้ คิดกัน
อย่างไรหนอ.ก็ได้ทราบวาระจิตด้วยพระญาณ อันสามารถทรงทราบอาจาระ
แห่งจิตของชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก. ลำดับนั้น พระองค์จึงทรงประมวล
เมตตาจิต อันสามารถแผ่ไปด้วยอำนาจการแผ่ไปโดยไม่เจาะจง ในเทวดา
และมนุษย์ทั้งมวล แล้วทรงแผ่เมตตาจิตไปในพระปัญจวัคคีย์เหล่านั้น
ด้วยอำนาจการแผ่โดยเจาะจง. พระปัญจวัคคีย์เหล่านั้นอันพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าให้สัมผัสด้วยเมตตาจิตแล้ว เมื่อพระตถาคตเจ้าเสด็จเข้าไปใกล้
ไม่อาจดำรงอยู่ตามกติกาของตน ได้พากันลุกขึ้นทำกิจทั้งปวงมีการอภิวาท
เป็นต้น แต่ไม่รู้ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงร้อง
เรียกพระองค์โดยพระนามและโดยวาทะว่า "อาวุโส" ทั้งสิ้น.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้พระปัญจวัคคีย์เหล่านั้นรู้ว่า
พระองค์เป็นพระพุทธเจ้า โดยพระดำรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่า
เรียกตถาคตโดยชื่อและโดยวาทะว่า "อาวุโส" เลย ภิกษุทั้งหลาย ตถาคต
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ดังนี้ แล้วประทับนั่งบนพุทธอาสน์
อันประเสริฐที่ปูลาดไว้ เมื่อประจวบกับดาวนักษัตรแห่งเดือน 8 หลัง
กำลังดำเนินไป อันพรหม 18 โกฏิห้อมล้อมแล้ว จึงตรัสเรียกพระเถระ
ปัญจวัคคีย์มา ทรงแสดง พระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร อันยอดเยี่ยม
เพริศแพร้วด้วยญาณ 6 มีวนรอบ 3 มีอาการ 12. บรรดาพระเถระ
ปัญจวัคคีย์เหล่านั้น พระโกณฑัญญเถระ ส่งญาณไปตามกระแสแห่ง

เทศนา ในเวลาจบพระสูตร ก็ได้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล พร้อมกับ
พรหม 18 โกฏิ.
พระศาสดา ทรงเข้าจำพรรษาอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวันนั้น
นั่นเอง ในวันรุ่งขึ้น ประทับนั่งทรงโอวาทพระวัปปเถระ อยู่ในวิหาร
นั่นแล พระเถระที่เหลือทั้ง 4 รูปเที่ยวบิณฑบาต. ในเวลาเช้านั่นเอง
พระวัปปเถระ ก็บรรลุพระโสดาปัตติผล โดยวิธีนี้นั่นแล ทรงให้พระเถระ
ทั้งหมดดำรงอยู่ในพระโสดาปัตติผล คือวันรุ่งขึ้น ให้พระภัตทิยเถระ
บรรลุ วันรุ่งขึ้น ให้พระมหานามเถระบรรลุ วันรุ่งขึ้น ให้พระอัสสชิ-
เถระ
บรรลุ ครั้นในดิถีที่ 5 แห่งปักษ์ ให้พระเถระทั้ง 5 ประชุมกัน
แล้วทรงแสดง อนัตตลักขณสูตร ในเวลาจบเทศนา พระเถระทั้ง 5
ดำรงอยู่ในพระอรหัต.
ครั้งนั้น พระศาสดาทรงเห็นอุปนิสัยของ ยสกุลบุตร ตรัสเรียก
เขาผู้เบื่อหน่ายละเรือนออกไปในตอนกลางคืนว่า มานี่เถิด ยสะ ทรง
ให้เขาดำรงอยู่ในพระโสดาปัตติผลในตอนกลางคืนนั้นแหละ แล้วให้ดำรง
อยู่ในพระอรหัตในวันรุ่งขึ้น แล้วทรงให้ชน 54 คนแม้อื่นอีก ผู้เป็น
สหายของพระยสะนั้นบรรพชา ด้วยเอหิภิกขุบรรพชา แล้วทรงให้บรรลุ
พระอรหัต.
ก็เมื่อพระอรหันต์ 61 องค์เกิดขึ้นในโลก ด้วยประการอย่างนี้แล้ว
พระศาสดาทรงออกพรรษาปวารณาแล้ว ทรงส่งภิกษุ 60 รูปไปในทิศ
ทั้งหลายด้วยพระดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเที่ยวจาริกไป
ดังนี้เป็นต้น ส่วนพระองค์เสด็จไปยังอุรุเวลาประเทศ ในระหว่างทาง
ทรงแนะนำ ภัททวัคคีย์กุมาร 30 คนในชัฏป่าฝ้าย บรรดาภัททวัคคีย์กุมาร

เหล่านั้น คนสุดท้ายเขาทั้งหมดได้เป็นพระโสดาบัน คนเหนือกว่าเขา
ทั้งหมดได้เป็นพระอนาคามี พระองค์ทรงให้ภัททวัคคีย์กุมารทั้งหมด
แม้นั้นบรรพชา ด้วยความเป็นเอหิภิกขุเหมือนกัน แล้วทรงส่งไปในทิศ
ทั้งหลาย แล้วพระองค์เสด็จถึงอุรุเวลาประเทศ ทรงแสดงปาฏิหาริย์
3,500 ปาฏิหาริย์ ทรงแนะนำชฎิลสามพี่น้อง มีอุรุเวลกัสสปะ เป็นต้น
มีชฎิลหนึ่งพันเป็นบริวาร ทรงให้บรรพชาด้วยความเป็นเอหิภิกขุแล้ว ให้
นั่งที่คยาสีสประเทศ ให้ดำรงอยู่ในพระอรหัตด้วย อาทิตตปริยายเทศนา
อันพระอรหันต์หนึ่งพันองค์ห้อมล้อม แล้วได้เสด็จไปยังอุทยานลัฏฐิวัน
ณ ชานพระนครราชคฤห์โดยพระประสงค์ว่า จักทรงเปลื้องปฏิญญาที่ให้ไว้
กับพระเจ้าพิมพิสาร พระราชาทรงสดับข่าวจากสำนักของนายอุยยานบาลว่า
พระศาสดาเสด็จมา จึงทรงห้อมล้อมด้วยพราหมณ์และคหบดี 12 นหุต
(คือ 12 หมื่น) เสด็จเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ทรงซบพระเศียรลงที่พระบาท
ของพระตถาคต อันมีฝ่าพระบาทวิจิตด้วยลายจักร กำลังเปล่งรัศมีสุก
สกาวขึ้น ประดุจเพดานอันดาดด้วยแผ่นทองคำ แล้วประทับนั่ง ณ ส่วน
ข้างหนึ่ง พร้อมทั้งบริษัท.
ลำดับนั้น พราหมณ์และคหบดีเหล่านั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า พระ-
มหาสมณะประพฤติพรหมจรรย์ในพระอุรุเวลกัสสปะ หรือว่าพระอุรุเวล-
กัสสปะประพฤติพรหมจรรย์ในพระมหาสมณะ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ทราบความปริวิตกแห่งใจของพราหมณ์และคหบดีเหล่านั้น ด้วยพระหทัย
จึงตรัสกะพระอุรุเวลกัสสปะ ด้วยพระคาถาว่า
ดูก่อนกัสสปะ เธออยู่ในตำบลอุรุเวลามานาน ซูบผอม
เพราะกำลังพรต เป็นผู้กล่าวสอนประชาชน เห็นโทษอะไร

หรือจึงละไปเสีย เราถามเนื้อความนี้กะเธอ อย่างไรเธอจึง
ละการบูชาไฟเสียเล่า.

ฝ่ายพระเถระก็ทราบความประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงกล่าว
คาถานี้ว่า
ยัญทั้งหลายย่อมกล่าวสรรเสริญ รูป เสียง กลิ่น รส
ที่น่าใคร่ และหญิงทั้งหลาย ข้าพระองค์รู้ว่า นี้เป็นมลทิน
ในอุปธิทั้งหลาย เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงไม่ยินดีในการ
เซ่นสรวงและการบูชา ดังนี้.

เพื่อจะประกาศความที่ตนเป็นสาวก จึงซบศีรษะลงที่หลังพระบาท
ของพระตถาคตแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้า
เป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก ดังนี้แล้วเหาะขึ้นสู่
เวหาส 7 ครั้ง คือ 1 ชั่วลำตาล 2 ชั่วลำตาล 3 ชั่วลำตาล จนกระทั่ง
ประมาณ 7 ชั่วลำตาล แล้วลงมาถวายบังคมพระตถาคต แล้วนั่ง ณ ที่
ควรข้างหนึ่ง.
มหาชนได้เห็นปาฏิหาริย์ดังนั้น จึงกล่าวเฉพาะกถาสรรเสริญพระ-
คุณของพระศาสดาเท่านั้นว่า น่าอัศจรรย์ พระพุทธเจ้าทรงมีอานุภาพมาก
เพราะแม้พระอุรุเวลกัสสปะ ชื่อว่า ผู้มีทิฏฐิจัดอย่างนี้ สำคัญตนว่าเป็น
พระอรหันต์ ก็ถูกพระตถาคตทรมาน ทำลายข่ายคือทิฏฐิเสียแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เราไม่ได้ทรมานอุรุเวลกัสสปะแต่ใน
บัดนี้เท่านั้น แม้ในอดีตกาล อุรุเวลกัสสปะนี้เราก็ได้ทรมานแล้ว เพราะ
เหตุเกิดเรื่องนี้ขึ้น จึงตรัส มหานารทกัสสปชาดก แล้วทรงประกาศ
สัจจะ 4. พระราชาพร้อมกับบริวาร 11 นหุต ดำรงอยู่ในพระโสดา-

ปัตติผล บริวาร 1 นหุตประกาศความเป็นอุบาสก. พระราชาประทับ
นั่งอยู่ในสำนักของพระศาสดานั่นเอง ทรงประกาศความสบายพระทัย 5
ประการแล้วทรงถึงสรณะ ทรงนิมนต์เพื่อเสวยในวันพรุ่งนี้ แล้วเสด็จ
ลุกขึ้นจากอาสน์ กระทำประทักษิณพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วเสด็จหลีกไป.
วันรุ่งขึ้น พวกชนชาวเมืองราชคฤห์ทั้งสิ้นนับได้ 18 โกฏิ ทั้งที่
ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วเมื่อวันวาน กับทั้งที่ไม่ได้เห็น ต่างมีความ
ประสงค์จะเห็นพระตถาคต จึงพากันจากเมืองราชคฤห์ไปยังลัฏฐิวันอุทยาน
แต่เช้าตรู่. หนทาง 3 คาวุตไม่พอจะเดิน. ลัฏฐิวันอุทานทั้งสิ้นแน่น
ขนัด. มหาชนแม้เห็นพระอัตภาพอันถึงความงามเลิศแห่งพระรูปโฉมของ
พระทศพล ก็ไม่อาจกระทำให้อิ่ม. นี้ชื่อว่า ภูมิของการพรรณนา. จริงอยู่
ในฐานะเห็นปานนี้ พึงพรรณนาความสง่าแห่งพระรูปกายแม้ทั้งหมด อัน
มีประเภทแห่งพระลักษณะ และพระอนุพยัญชนะเป็นต้น ของพระผู้มี-
พระภาคเจ้า. เมื่ออุทยานและทางเดินแน่นขนัด ด้วยมหาชนผู้จะดูพระ-
สรีระของพระทศพล อันถึงความงามเลิศด้วยพระรูปโฉมอย่างนี้ แม้ภิกษุ
รูปเดียวก็ไม่มีโอกาสออกไปได้. นัยว่า วันนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจะต้อง
ขาดพระกระยาหาร เพราะฉะนั้น อาสนะที่ท้าวสักกะประทับนั่ง จึงแสดง
อาการร้อน อันมีเหตุให้รู้ว่า ข้อนั้นอย่าได้มีเลย. ท้าวสักกะทรงรำพึงดู
รู้เหตุนั้นแล้ว จึงนิรมิตเพศเป็นมาณพน้อย กล่าวคำสดุดีอันประกอบด้วย
พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เสด็จลงเบื้องพระพักตร์ของพระ-
ทศพล กระทำที่ว่างด้วยเทวานุภาพ เสด็จไปเบื้องหน้ากล่าวคุณของ
พระศาสดา ด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้ามีวรรณะงามดุจลิ่มทองสิงคี ผู้ทรงฝึก
แล้ว ทรงหลุดพ้นแล้ว เสด็จเข้ากรุงราชคฤห์ พร้อมกับ
พระปุราณชฎิลผู้ฝึกตนได้แล้ว ผู้หลุดพ้นแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้ามีวรรณะงามดุจลิ่มทองสิงคี ผู้หลุดพ้น
แล้ว ทรงข้ามได้แล้ว เสด็จเข้ากรุงราชคฤห์ พร้อมกับ
พระปุราณชฎิลผู้พ้นแล้ว ผู้ข้ามได้แล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้ามีวรรณะงามดุจลิ่มทองสิงคี ผู้สงบ
แล้ว ทรงสงบแล้ว เสด็จเข้ากรุงราชคฤห์ พร้อมกับ
พระปุราณชฎิล ผู้สงบแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น มีธรรมเครื่องอยู่ 10 มีพระ-
กำลัง 10 ทรงรู้แจ้งธรรม 10 และประกอบด้วยพระคุณ 10
มีบริวารหนึ่งพัน เสด็จเข้ากรุงราชคฤห์แล้ว
ดังนี้.
ในกาลนั้น มหาชนเห็นความสง่าแห่งรูปของมาณพน้อยแล้วคิดว่า
มาณพน้อยผู้นี้ มีรูปงามยิ่งหนอ ก็พวกเราไม่เคยเห็นเลย จึงกล่าวว่า
มาณพน้อยผู้นี้มาจากไหน หรือว่ามาณพน้อยผู้นี้เป็นของใคร. มาณพ
ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาว่า
พระสุคตเจ้าพระองค์ใด ทรงเป็นปราชญ์ ทรงฝึกพระ-
องค์ได้ในที่ทั้งปวง บริสุทธิ์ ไม่มีบุคคลเปรียบปาน เป็น
พระอรหันต์ในโลก เราเป็นคนรับใช้ของพระสุคตเจ้าพระองค์
นั้น
ดังนี้.
พระศาสดาเสด็จดำเนินตามทาง ซึ่งมีช่องว่างที่ท้าวสักกะกระทำไว้
อันภิกษุหนึ่งพันแวดล้อมเสด็จเข้ากรุงราชคฤห์. พระราชาถวายมหาทาน

แก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ หม่อมฉันจักไม่อาจอยู่ โดยเว้นพระรัตนตรัย หม่อมฉันจักมา
ยังสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าในเวลาบ้าง ไม่ใช่เวลาบ้าง ก็อุทยาน
ชื่อว่าลัฏฐิวันไกลเกินไป แต่อุทยานชื่อว่าเวฬุวันของหม่อมฉันแห่งนี้
ไม่ไกลเกินไป ไม่ใกล้เกินไป สมบูรณ์ด้วยการไปและการมา เป็น
เสนาสนะสมควรแก่พระพุทธเจ้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงรับอุทยานเวฬุวันของหม่อมฉันนี้เถิด แล้วทรงเอาพระ-
สุวรรณภิงคารตักน้ำอันมีสีดังแก้วมณีอบด้วยดอกไม้หอม เมื่อจะทรง
บริจาคพระเวฬุวันอุทยาน จึงทรงหลั่งน้ำให้ตกลงบนพระหัตถ์ของพระ-
ทศพล. เมื่อทรงรับพระเวฬุวันอุทยานนั้นนั่นแล มหาปฐพีได้หวั่นไหว
ซึ่งมีอันให้รู้ว่า มูลรากของพระพุทธศาสนาได้หยั่งลงแล้ว. จริงอยู่
ในพื้นชมพูทวีป ยกเว้นพระเวฬุวันเสีย ชื่อว่าเสนาสนะอื่นที่ทรงรับแล้ว
มหาปฐพีไหว ไม่มีเลย. แม้ในตามพปัณณิทวีป คือเกาะลังกา ยกเว้น
มหาวิหารเสีย ชื่อว่าเสนาสนะอื่นที่รับแล้วแผ่นดินไหว ก็ย่อมไม่มี.
พระศาสดาครั้นทรงรับพระเวฬุวนารามแล้ว ทรงกระทำอนุโมทนาแก่
พระราชาแล้ว เสด็จลุกขึ้นจากอาสนะ อันภิกษุสงฆ์แวดล้อมเสด็จไป
ยังพระเวฬุวัน.
ก็สมัยนั้นแล ปริพาชกสองคน คือ สารีบุตร และ โมคคัลลานะ
อาศัยกรุงราชคฤห์แสวงหาอมตธรรมอยู่. ในปริพาชกสองคนนั้น สารีบุตร
ปริพาชกเห็นพระอัสสชิเถระเข้าไปบิณฑบาตมีจิตเลื่อมใส จึงเข้าไปนั่ง
ใกล้ฟังคาถามีอาทิว่า เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา ดังนี้ ได้ตั้งอยู่ในพระ-
โสดาปัตติผล แล้วได้กล่าวคาถานั้นนั่นแหละ แก่โมคคัลลานปริพาชก

ผู้เป็นสหายของตน แม้โมคคัลลานปริพาชกนั้น ก็ได้ดำรงอยู่ใน
โสดาปัตติผล. ปริพาชกทั้งสองนั้นจึงอำลาสัญชัยปริพาชกไปบวชใน
สำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมทั้งบริษัทของตน. บรรดาท่าน
ทั้งสองนั้น พระโมคคัลลานะบรรลุพระอรหัตโดย 7 วัน พระสารีบุตร
บรรลุพระอรหัตโดยกึ่งเดือน พระศาสดาทรงตั้งพระเถระทั้งสองนั้นไว้ใน
ตำแหน่งอัครสาวก และในวันที่พระสารีบุตรเถระบรรลุพระอรหัตนั่น
แหละ ได้ทรงกระทำสันนิบาตคือประชุมพระสาวก
ก็เมื่อพระตถาคตประทับอยู่ในพระเวฬุวันอุทยานนั้นนั่นแล พระ-
เจ้าสุทโธทนมหาราชได้ทรงสดับว่า ข่าวว่าบุตรของเราประพฤติทุกรกิริยา
อยู่ 6 ปี จึงบรรลุพระปรมาภิสัมโพธิญาณแล้วประกาศพระธรรมจักร
อันบวร เข้าไปอาศัยกรุงราชคฤห์ประทับอยู่ในพระเวฬุวันดังนี้ จึงตรัส
เรียกอำมาตย์คนหนึ่งมาตรัสว่า มานี่แน่ะพนาย ท่านมีบุรุษพันหนึ่งเป็น
บริวารเดินทางไปกรุงราชคฤห์ กล่าวตามคำของเราว่า พระเจ้าสุทโธทน-
มหาราชพระราชบิดาของพระองค์ มีพระประสงค์จะพบ ดังนี้แล้วจงพา
บุตรของเรามา.
อำมาตย์ผู้นั้นรับพระราชดำรัสของพระราชาใส่เศียรเกล้าว่า พระ-
พุทธเจ้าข้า แล้วมีบุรุษพันหนึ่งเป็นบริวาร รีบเดินทางไปสิ้นหนทาง
60 โยชน์ แล้วเข้าไปยังพระวิหาร ในเวลาที่พระทศพลประทับนั่ง
แสดงธรรมอยู่ท่ามกลางบริษัท 4. อำมาตย์นั้นคิดว่า พระราชสาสน์
ของพระราชาที่ส่งมาจงงดไว้ก่อน จึงยืนอยู่ท้ายบริษัทฟังพระธรรมเทศนา
ของพระศาสดา ทั้งที่ยืนอยู่นั่นแล ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมกับบุรุษ
พันหนึ่ง จึงทูลขอบรรพชา. พระศาสดาทรงเหยียดพระหัตถ์ตรัสว่า

ท่านทั้งหลายจงเป็นภิกษุมาเถิด. ทันใดนั้นเอง คนทั้งหมดได้เป็นผู้
ทรงบาตรและจีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์ เป็นดุจพระเถระมีพรรษา 60
พรรษา.
ก็ตามธรรมดาพระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมกลายเป็นผู้มัธยัสถ์ไปตั้ง
แต่เวลาที่ได้บรรลุพระอรหัต เพราะเหตุนั้น พระผู้เป็นอำมาตย์นั้นจึง
มิได้กราบทูลข่าวที่พระราชาส่งมาแด่พระทศพล. พระราชาทรงดำริว่า
อำมาตย์ผู้ที่ไปยังไม่กลับมา ข่าวสาสน์ก็ไม่ได้ฟัง จึงส่งอำมาตย์คนอื่น
ไปโดยทำนองนั้นนั่นแลว่า มานี่แน่ะพนาย ท่านจงไป. อำมาตย์แม้
คนนั้นไปแล้วได้บรรลุพระอรหัตพร้อมทั้งบริษัทก็ได้เป็นผู้นิ่งเสีย โดยนัย
อันมีในก่อนนั่นแหละ. พระราชาทรงสั่งอำมาตย์อื่นไปอีก 7 คน โดย
ทำนองนี้แหละว่า มานี่แน่ะพนาย ท่านจงไป. อำมาตย์ที่พระราชาทรง
ส่งไปนั้นทั้งหมด เป็นบุรุษบริวาร 9 พันคน เป็นอำมาตย์ 9 คน ทำ
กิจของตนเสร็จแล้ว เป็นผู้นิ่งเสีย อยู่แต่ในกรุงราชคฤห์นั้นเท่านั้น.
พระราชาไม่ทรงได้อำมาตย์ผู้จะนำ แม้แต่ข่าวสาสน์มาบอก จึง
ทรงพระดำริว่า ชนแม้มีประมาณเท่านี้ ไม่นำกลับมาแม้แต่ข่าวสาสน์ เพราะ
ไม่มีความรักในเรา ใครหนอจักกระทำตามคำสั่งของเรา เมื่อทรงตรวจดู
พลของหลวงทั้งหมดก็ได้ทรงเห็นกาฬุทายีอำมาตย์. ได้ยินว่า กาฬุทายี
อำมาตย์นั้นเป็นผู้จัดราชกิจทั้งปวง เป็นคนภายใน เป็นอำมาตย์ผู้มีความ
คุ้นเคยเป็นอย่างยิ่ง เกิดวันเดียวกันกับพระโพธิสัตว์ เป็นสหายเล่นหัว
กันมา. ลำดับนั้น พระราชาตรัสเรียกกาฬุทายีอำมาตย์นั้นมาว่า นี่แน่ะ
พ่อกาฬุทายี ฉันอยากจะเห็นบุตรของฉัน จึงส่งอำมาตย์ 9 คนกับบุรุษ
ผู้เป็นบริวาร 9 พันไป บรรดาคนเหล่านั้นแม้คนเดียวชื่อว่าผู้จะมาบอก

เพียงแต่ข่าวสาสน์ก็ไม่มี ก็อันตรายแห่งชีวิตของเรารู้ได้ยาก เรายังมีชีวิต
อยู่ปรารถนาจะเห็นบุตร เธอจักอาจแสดงบุตรแก่เราหรือหนอ กาฬุทายี
อำมาตย์กราบทูลว่า จักอาจพระเจ้าข้า ถ้าข้าพระพุทธเจ้าจักได้บวช.
พระราชาตรัสว่า นี่แน่ะพ่อ เธอจะบวชหรือไม่บวชก็ตาม จงแสดงบุตร
แก่เรา. กาฬุทายีอำมาตย์ทูลรับพระบัญชาว่า ได้พระเจ้าข้า แล้วถือ
พระราชสาสน์ไปยังกรุงราชคฤห์ ยืนอยู่ท้ายบริษัทในเวลาที่พระศาสดา
ทรงแสดงธรรม ฟังธรรมแล้ว พร้อมทั้งบริวารบรรลุพระอรหัตแล้ว
บวชด้วยความเป็นเอหิภิกขุอยู่.
พระศาสดาเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ตลอดภายในพรรษาแรก
ประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมิคทายวัน ออกพรรษาปวารณาแล้วเสด็จไปยัง
ตำบลอุรุเวลา ประทับอยู่ที่ตำบลอุรุเวลานั้นตลอด 3 เดือน ทรงแนะ
นำชฎิลสามพี่น้องแล้ว มีภิกษุหนึ่งพันเป็นบริวาร ในวันเพ็ญเดือนยี่
เสด็จไปกรุงราชคฤห์ประทับอยู่ 2 เดือน. โดยลำดับกาลมีประมาณเท่านี้
เมื่อพระองค์เสด็จออกจากเมืองพาราณสีเป็นเวลา 5 เดือน. ฤดูเหมันต์
ทั้งสิ้นได้ล่วงไปแล้ว. ตั้งแต่วันที่พระกาฬุทายีเถระมาถึง เวลาได้ล่วงไป
แล้ว 7-8 วัน ในวันเพ็ญเดือน 4 พระเถระคิดว่า บัดนี้ฤดูเหมันต์
ล่วงไปแล้ว วสันตฤดูกำลังย่างเข้ามา พวกมนุษย์ถอนข้าวกล้าเป็นต้น
เสร็จแล้ว ให้หนทางตามที่ตรงหน้าๆ (หมายความว่าบ่ายหน้าไปทางไหน
มีทางไปได้ทั้งนั้น ) แผ่นดินก็ปกคลุมด้วยหญ้าเขียวขจี ราวป่ามีดอกไม้
บานสะพรั่ง หนทางเหมาะแก่การที่จะเดินทาง เป็นกาลที่พระทศพลจะ
กระทำการสงเคราะห์พระญาติ. ลำดับนั้น ท่านพระกาฬุทายีจึงเข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า พรรณนาการเสด็จดำเนินไปยังนครแห่งราชสกุลของ
พระทศพล ด้วยคาถาประมาณ 60 คาถาว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ต้นไม้ทั้งหลายมีสีแดง กำลัง
ทรงผลสลัดใบแล้ว ต้นไม้เหล่านั้น สว่างโพลงดุจมีเปลวไฟ
ข้าแต่มหาวีระ ถึงสมัยที่เหมาะสมแก่การที่พระองค์จะรื่น
รมย์ ฯลฯ
สถานที่ไม่เย็นจัด ไม่ร้อนจัด ไม่อัตคัดและอดอยากนัก
ฟื้นภูมิภาคมีหญ้าแพรกเขียวสด ข้าแต่พระมหามุนี กาลนี้
เป็นกาลสมควรที่จะเสด็จไป
ดังนี้.
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะพระกาฬุทายีเถระว่า ดูก่อนอุทายี เพราะ
เหตุไรหนอ เธอจึงพรรณนาการไป ด้วยเสียงอันไพเราะ พระกาฬุทายี
เถระกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าสุทโธทนมหาราช
พระบิดาของพระองค์ ทรงมีพระประสงค์จะพบเห็นพระองค์ ขอพระองค์
จงทรงกระทำการสงเคราะห์พระญาติทั้งหลายเถิด. พระศาสดาตรัสว่า
ดีละอุทายี เราจักกระทำการสังเคราะห์พระญาติทั้งหลาย เธอจงบอก
แก่ภิกษุสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจักได้ทำคมิกวัตร คือระเบียบของผู้จะไปให้
บริบูรณ์. พระเถระรับพระดำรัสว่า ดีแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แล้ว
บอกแก่ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้อมล้อมด้วยพระภิกษุขีณาสพสองหมื่นองค์
คือ ภิกษุกุลบุตรชาวเมืองอังคะและมคธะหมื่นองค์ ภิกษุกุลบุตร
ชาวเมืองกบิลพัสดุ์หมื่นองค์ เสด็จออกจากเมืองราชคฤห์เสด็จดำเนินวัน
ละโยชน์หนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า จากเมืองราชคฤห์

ถึงเมืองกบิลพัสดุ์ประมาณ 60 โยชน์ เราจักถึงได้โดย 2 เดือน จึง
เสด็จออกหลีกจาริกไปโดยไม่รีบด่วน. ฝ่ายพระเถระคิดว่า เราจักกราบทูล
ความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกมาแล้ว แก่พระราชา จึงเหาะขึ้นสู่
เวหาสไปปรากฏในพระราชนิเวศน์.
พระราชาทรงเห็นพระเถระแล้วมีพระทัยยินดี จึงนิมนต์ให้นั่งบน
บัลลังก์อันควรค่ามาก บรรจุบาตรให้เต็มด้วยโภชนะมีรสเลิศต่าง ๆ ที่
เขาจัดเพื่อพระองค์แล้วได้ถวาย. พระเถระแสดงอาการจะลุกขึ้นไป. พระ-
ราชาตรัสว่า จงนั่งฉันเถิดพ่อ พระเถระทูลว่า ข้าแต่มหาราชบพิตร อาตภาพ
จักไปยังสำนักของพระศาสดาแล้ว จักฉัน. พระราชาตรัสถามว่า ก็พระ-
ศาสดาอยู่ที่ไหนล่ะพ่อ. พระเถระทูลว่า ข้าแต่มหาบพิตร พระศาสดา
มีภิกษุสองหมื่นเป็นบริวาร เสด็จออกจาริกมาแล้ว เพื่อต้องการจะเฝ้า
พระองค์. พระราชาทรงมีพระมนัสยินดีตรัสว่า ท่านจงฉันบิณฑบาตนี้
แล้วนำบิณฑบาตจากที่นี้ไปถวายพระโอรสนั้น จนกว่าพระโอรสของโยม
จะถึงนครนี้. พระเถระรับพระดำรัสแล้ว.
พระราชาทรงอังคาสพระเถระ แล้วให้ขัดถูบาตด้วยผงเครื่องหอม
บรรจุให้เต็มด้วยโภชนะชั้นดี แล้วให้ตั้งไว้ในมือของพระเถระโดยตรัสว่า
ขอท่านจงถวายแด่พระตถาคต. พระเถระเมื่อคนทั้งหลายเห็นอยู่ทีเดียว
ได้โยนบาตรไปในอากาศ ฝ่ายตนเองก็เหาะขึ้นสู่เวหา นำบิณฑบาต
มาวางถวายที่พระหัตถ์ของพระศาสดา. พระศาสดาเสวยบิณฑบาตนั้น.
พระเถระนำบิณฑบาตมาทุกวัน ๆ โดยอุบายนั้นแหละ.
ฝ่ายพระศาสดาก็เสวยบิณฑบาตของพระราชาเท่านั้น ในระหว่าง
ทาง. ในเวลาเสร็จภัตกิจทุกวัน ๆ แม้พระเถระก็กล่าวว่า วันนี้ พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาสิ้นระยะทางมีประมาณเท่านี้ วันนี้มีประมาณเท่านี้
และได้กระทำราชสกุลทั้งสิ้น ให้เกิดความเลื่อมใสในพระศาสดา โดยเว้น
การได้เห็นพระศาสดา ด้วยกถาอันประกอบด้วยพระพุทธคุณ. เพราะ-
เหตุนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงสถาปนาพระเถระให้เป็นเอต-
ทัคคะด้วยพระดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาฬุทายีนี้เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุ
สาวกของเรา ผู้ทำสกุลให้เลื่อมใส.
ฝ่ายเจ้าศากยะทั้งหลาย เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจวนถึง ต่าง
คิดกันว่า จักเห็นพระญาติผู้ประเสริฐของพวกเรา จึงประชุมกันพิจารณา
สถานที่ประทับของพระผู้มีพระภาคเจ้า กำหนดเอาว่า อารามของ
เจ้าศากยนิโครธ น่ารื่นรมย์ จึงให้กระทำวิธีการซ่อมแซมทุกอย่างใน
อารามนั้น มีมือถือของหอมและดอกไม้ เมื่อจะทำการต้อนรับ จึงส่งเด็ก
ชายและเด็กหญิงชาวเมืองผู้ยังเด็ก ๆ แต่งตัวด้วยเครื่องประดับทุกอย่างไป
ก่อน ต่อจากนั้น ส่งราชกุมารและราชกุมารีไป ตนเองบูชาอยู่ด้วยของ
หอมและดอกไม้เป็นต้น ในระหว่างราชกุมารและราชกุมารีเหล่านั้น ได้
พาพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปยังนิโครธารามทีเดียว. ณ นิโครธารามนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าอันพระขีณาสพสองหมื่นแวดล้อม ประทับนั่งบนบวร-
พุทธอาสน์ที่เขาปูลาดไว้.
ธรรมดาว่าเจ้าศากยะทั้งหลายมีมานะในเรื่องชาติ ถือตัวจัด เจ้า
ศากยะเหล่านั้นคิดกันว่า สิทธัตถกุมารเป็นเด็กกว่าพวกเรา เป็นพระ-
กนิษฐา เป็นพระภาคิไนย เป็นพระโอรส เป็นพระนัดดาของพวกเรา
จึงได้ตรัสกะราชกุมารทั้งหลายที่หนุ่ม ๆ ว่า พวกเธอจงพากันถวายบังคม
เราทั้งหลายจักนั่งข้างหลังของพวกเธอ. เมื่อเจ้าศากยะทั้งหลายเหล่านั้น

ไม่ถวายบังคมนั่งอยู่อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูอัธยาศัยของ
เจ้าศากยะเหล่านั้น ทรงพระดำริว่า พระญาติทั้งหลายไม่ไหว้เรา เอา
เถอะ เราจะให้พวกเขาไหว้ในบัดนี้ จึงทรงเข้าจตุตถฌานอันเป็นบาท
แห่งอภิญญา แล้วออกจากจตุตถฌานนั้นเหาะขึ้นสู่อากาศ ทำทีโปรยธุลี
พระบาทลงบนพระเศียรของเจ้าศากยะเหล่านั้น ได้ทรงกระทำปาฏิหาริย์
เช่นเดียวกับยมกปาฏิหาริย์ที่ควงไม้คัณฑามพพฤกษ์. พระราชาทรงเห็น
ความอัศจรรย์นั้น จึงทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในวันที่พระองค์
ประสูติ หม่อมฉันได้เห็นพระบาทของพระองค์ ผู้ซึ่งเขานำเข้าไปเพื่อให้
ไหว้กาฬเทวิลดาบส กลับไปตั้งอยู่บนกระหม่อมของพราหมณ์ จึงได้ไหว้
พระบาทของพระองค์ นี้เป็นการไหว้ครั้งแรก ของหม่อมฉัน. ในวัน
วัปปมงคลแรกนาขวัญ หม่อมฉันก็ได้เห็นร่มเงาไม้หว้าของพระองค์ผู้
บรรทมอยู่บนพระที่สิริไสยาสน์ในร่มเงาไม้หว้า ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
(ไปตามตะวัน) ก็ได้ไหว้พระบาท นี้เป็นการไหว้ครั้งที่สอง ของหม่อม-
ฉัน. ก็บัดนี้ หม่อมฉันได้เห็นปาฏิหาริย์ที่ไม่เคยเห็นนี้ จึงไหว้พระบาท
ของพระองค์ นี้เป็นการไหว้ครั้งที่สาม ของหม่อมฉัน.
ก็เมื่อพระราชาถวายบังคมแล้ว เจ้าศากยะแม้องค์เดียว ชื่อว่าเป็น
ผู้สามารถทรงยืนอยู่โดยไม่ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้มีเลย เจ้า-
ศากยะทั้งปวงพากันถวายบังคมทั้งสิ้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้พระญาติทั้งหลายถวายบังคมด้วยประการ
ฉะนี้แล้ว เสด็จลงจากอากาศ ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งแล้ว ได้มีการประชุมพระญาติอันถึงจุด

สุดยอด เจ้าศากยะทั้งปวงเป็นผู้มีจิตแน่วแน่ประทับนั่งแล้ว. ลำดับนั้น
มหาเมฆได้ยังฝนโบกขรพรรษให้ตกลงมา น้ำสีแดงไหลไปข้างล่าง ผู้
ต้องการให้เปียกเท่านั้น จึงจะเปียก สำหรับผู้ไม่ประสงค์จะให้เปียก น้ำ
แม้แต่หยาดเดียวก็ไม่ตกลงบนร่างกาย. เจ้าศากยะทั้งปวงเห็นดังนั้น เป็น
ผู้มีจิตอัศจรรย์ไม่เคยมี จึงสั่งสนทนากันขึ้นว่า โอ ! น่าอัศจรรย์ โอ !
ไม่เคยมี.
พระศาสดาตรัสว่า ฝนโบกขรพรรษตกลงในสมาคมแห่งพระญาติ
ของเราแต่ในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในอดีตกาลก็ได้ตกแล้ว จึงตรัส
เวสสันดรชาดก เพราะเหตุเกิดเรื่องนี้ขึ้น. เจ้าศากยะทั้งปวงได้ฟังพระ-
ธรรมกถาแล้ว เสด็จลุกขึ้นถวายบังคมแล้วเสด็จหลีกไป. พระราชาหรือ
มหาอำมาตย์ของพระราชาแม้แต่ผู้เดียว ชื่อว่ากราบทูลว่า พระองค์ทั้งหมด
ขอจงรับภิกษาของข้าพระองค์ทั้งหลายดังนี้ แล้วจึงไป ย่อมไม่มี.
วันรุ่งขึ้น พระศาสดาอันภิกษุสองหมื่นแวดล้อม เสด็จเข้าไป
บิณฑบาตยังกรุงกบิลพัสดุ์ ใครๆ ไม่ไปนิมนต์พระองค์ หรือไม่รับบาตร.
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืนที่ธรณีประตูนั้นแล ทรงพระรำพึงว่า พระ-
พุทธเจ้าทั้งหลายในปางก่อน เสด็จเที่ยวบิณฑบาตในเมืองของสกุลอย่างไร
หนอ คือเสด็จไปยังเรือนของพวกอิสรชนโดยข้ามลำดับ หรือว่าเสด็จ
เที่ยวไปตามลำดับตรอก ลำดับนั้น ไม่ได้ทรงเห็นแม้พระพุทธเจ้าสักองค์
หนึ่งเสด็จไปโดยข้ามลำดับ จึงทรงดำริว่า บัดนี้ แม้เราก็ควรประคับ
ประคองวงศ์ของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น เฉพาะบัดนี้เท่านั้น และต่อไป
สาวกทั้งหลายของเรา เมื่อสำเหนียกตามเราอยู่นั่นแล จักได้บำเพ็ญ

ปิณฑจาริกวัตร คือถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ดังนี้แล้วจึงเสด็จ
เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก เริ่มตั้งแต่เรือนที่ตั้งอยู่ในที่สุดไป. มหา-
ชนโจษขานกันว่า ได้ข่าวว่า สิทธัตถกุมารผู้เป็นเจ้านายเที่ยวไปเพื่อก้อน
ข้าว จึงเปิดหน้าต่างในปราสาทชั้น 2 และชั้น 3 เป็นต้น ได้เป็นผู้
ขวนขวายเพื่อจะดู.
ฝ่ายพระเทวีพระมารดาของพระราหุล ทรงดำริว่า นัยว่า พระลูกเจ้า
เสด็จเที่ยวไปในพระนครนี้แหละด้วยวอทองเป็นต้น โดยราชานุภาพยิ่ง
ใหญ่ มาบัดนี้ ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ. ถือกระเบื้องเสด็จ
เที่ยวไปเพื่อก้อนข้าว จะงามหรือหนอ จึงทรงเปิดพระแกลทอดพระเนตร
ดู ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังถนนในพระนครให้สว่าง ด้วยพระ-
รัศมีแห่งพระสรีระอันเรื่องรองด้วยแสงสีต่างๆ ไพโรจน์งดงามด้วยพุทธ-
สิริอันหาอุปมามิได้ ประดับด้วยพระมหาปุริสลักษณะ 32 ประการ สดใส
ด้วยพระอนุพยัญชนะ 80 ประการ ตามประชิดล้อมรอบด้วยพระรัศมีด้าน
ละวา จึงทรงชมเชยตั้งแต่พระอุณหิส (ได้แก่ส่วนที่เลยหน้าผากไป) จน
ถึงพื้นพระบาท ด้วยคาถาชื่อว่านรสีหคาถา 10 คาถามีอาทิอย่างนี้ว่า
พระผู้นรสีหะ มีพระเกสาเป็นลอนอ่อนดำสนิท มีพื้น
พระนลาตปราศจากมลทินดุจพระอาทิตย์ มีพระนาสิกโค้ง
อ่อนยาวพอเหมาะ มีข่ายพระรัศมีแผ่ซ่านไป
ดังนี้.
แล้วกราบทูลแด่พระราชาว่า พระโอรสของพระองค์เสด็จเที่ยวไป
เพื่อก้อนข้าว. พระราชาสลดพระทัย เอาพระหัตถ์จัดผ้าสาฎกให้เรียบร้อย
พลางรีบด่วนเสด็จออก รีบเสด็จดำเนินไปประทับยืนเบื้องพระพักตร์ของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วตรัสว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะเหตุไร
พระองค์จึงทรงกระทำหม่อมฉันให้ได้อาย เพื่ออะไรจึงเสด็จเที่ยวไปเพื่อ
ก้อนข้าว ทำไมพระองค์จึงทรงกระทำความสำคัญว่า ภิกษุมีประมาณ
เท่านี้ไม่อาจได้ภัตตาหาร.
พระศาสดาตรัสว่า. มหาบพิตร นี้เป็นการประพฤติตามวงศ์ของ
อาตมภาพ
พระราชาตรัสว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชื่อว่าวงศ์ของเราทั้งหลาย
เป็นวงศ์กษัตริย์มหาสมมตราช ก็วงศ์กษัตริย์มหาสมมตราชนี้ ย่อมไม่มี
กษัตริย์สักพระองค์เดียว ชื่อว่าผู้เที่ยวไปเพื่อภิกษา.
พระศาสดาตรัสว่า มหาบพิตร ชื่อว่าวงศ์กษัตริย์นี้ เป็นวงศ์ของ
พระองค์ ส่วนชื่อว่าพุทธวงศ์นี้ คือพระทีปังกร พระโกณฑัญญะ ฯลฯ
พระกัสสปเป็นวงศ์ของอาตมภาพ ก็พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านี้และอื่นๆ
นับได้หลายพัน ได้สำเร็จการเลี้ยงพระชนมชีพด้วยการเที่ยวภิกขาจาร
เท่านั้น ทั้งที่ประทับยืนอยู่ในระหว่างถนนนั่นแล ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า
บุคคลไม่ควรประมาทในก้อนข้าวที่ตนพึงลุกขึ้นยืนรับ พึง
ประพฤติธรรมให้สุจริต บุคคลผู้ประพฤติธรรมเป็นปกติ ย่อม
อยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
ดังนี้.
ในเวลาจบพระคาถา พระราชาทรงดำรงอยู่ในพระโสดาปัตติผล. ได้ทรง
สดับคาถานี้ว่า
บุคคลพึงประพฤติธรรมให้สุจริต ไม่พึงประพฤติธรรมนั้น
ให้ทุจริตผู้ประพฤติธรรมเป็นปกติ ย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้
และโลกหน้า
ดังนี้.

ได้ดำรงอยู่ในพระสกทาคามิผล ทรงสดับมหาธัมมปาลชาดก ได้ดำรง
อยู่ในพระอนาคามิผล ในสมัยใกล้จะสวรรคต ทรงบรรทมบนพระที่
สิริไสยาสน์ภายใต้เศวตฉัตรนั้นแล ได้บรรลุพระอรหัต. กิจในการตาม
ประกอบปธานความเพียรด้วยการอยู่ป่า มิได้มีแก่พระราชา.
ก็พระราชานั้น ครั้นทรงกระทำให้แจ้งพระโสดาปัตติผลแล้วแล
ทรงรับบาตรของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนำพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมทั้ง
บริษัทขึ้นสู่มหาปราสาท ทรงอังคาสด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีต.
ในเวลาเสร็จภัตกิจ นางสนมทั้งปวงพากันมาถวายบังคมพระผู้มีพระภาค-
เจ้า ยกเว้นพระมารดาพระราหุล. ก็พระมารดาพระราหุลนั้น แม้ปริวาร-
ชนจะกราบทูลว่า ขอพระองค์จงเสด็จไปถวายบังคมพระลูกเจ้า ก็ตรัสว่า
ถ้าคุณความดีของเรามีอยู่ พระลูกเจ้าจักเสด็จมายังสำนักของเราด้วย
พระองค์เอง พระองค์เสด็จมานั้นแหละ เราจึงจะถวายบังคม ครั้นตรัส
ดังนี้แล้วก็มิได้เสด็จไป.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงให้พระราชารับบาตรแล้ว ได้เสด็จไป
ยังห้องอันมีสิริ ของพระราชธิดา พร้อมกับพระอัครสาวกทั้งสองแล้ว
ตรัสว่า พระราชธิดาเมื่อไหว้ตามชอบใจอยู่ ไม่ควรกล่าวอะไร แล้ว
ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดถวาย. พระราชธิดารีบเสด็จมาแล้วจับข้อ
พระบาท กลิ้งเกลือกพระเศียรที่หลังพระบาทแล้ว ถวายบังคมตามพระ-
อัธยาศัย. พระราชาตรัสคุณสมบัติมีความรักและความนับถือมากเป็นต้น
ในพระผู้มีพระภาคเจ้า ของพระราชธิดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธิดา
ของหม่อมฉันได้สดับว่า พระองค์ทรงนุ่งห่มผ้ากาสายะ ตั้งแต่นั้นก็เป็น
ผู้นุ่งห่มผ้าสายะ ได้สดับว่า พระองค์เสวยพระกระยาหารหนเดียว ก็เป็น

ผู้เสวยภัตหนเดียวบ้าง ได้สดับว่า พระองค์ละเลิกที่นอนใหญ่ ก็บรรทม
บนเตียงน้อยอันขึงด้วยแผ่นผ้า ทราบว่า พระองค์ทรงเว้นจากดอกไม้และ
ของหอมเป็นต้น ก็งดเว้นดอกไม้และของหอมบ้าง เมื่อพระญาติทั้งหลาย
ส่งข่าวมาว่า เราทั้งหลายจักปรนนิบัติ ก็มิได้เหลียวแลพระญาติเหล่านั้น
แม้พระองค์เดียว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธิดาของหม่อมฉันเพียบพร้อม
ด้วยคุณสมบัติอย่างนี้. พระศาสดาตรัสว่า มหาบพิตร ข้อที่พระราชธิดา
ที่พระองค์รักษาอยู่ในบัดนี้ รักษาตนได้ในเมื่อญาณแก่กล้าแล้ว ไม่น่า
อัศจรรย์ เมื่อก่อน พระราชธิดานี้ไม่มีการอารักขา เที่ยวอยู่ที่เชิงเขาก็
ยังรักษาตนได้ ในเมื่อญาณทั้งที่ยังไม่แก่กล้า ดังนี้แล้วตรัส จันทกินรี-
ชาดก
แล้วทรงลุกขึ้นจากอาสนะเสด็จหลีกไป.
ก็ในวันรุ่งขึ้น เมื่องานวิวาหมงคลเนื่องในการเสด็จเข้าพระตำหนัก
อภิเษกของนันทราชกุมารกำลังเป็นไปอยู่ พระศาสดาเสด็จไปยังตำหนัก
ของนันทราชกุมารนั้น ทรงให้พระกุมารถือบาตร มีพระประสงค์จะให้
บวช ตรัสเรื่องมงคลแล้วทรงลุกจากอาสนะเสด็จหลีกไป. นางชนบท-
กัลยาณี
เห็นพระกุมารกำลังเสด็จไป จึงทูลว่า ข้าแต่พระลูกเจ้า ขอ
พระองค์จงกลับมาโดยด่วน แล้วชะเง้อแลดู. นันทกุมารนั้นไม่อาจทูลกะ
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอพระองค์ทรงรับบาตร จึงได้เสด็จไปยังพระ-
วิหารเหมือนกัน. นันทกุมารไม่ปรารถนาเลย พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรง
ให้บวชแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปเมืองกบิลพัสดุ์ ทรงให้นันทะ
บวชในวันที่ 3 ด้วยประการฉะนี้.
ในวันที่ 7 แม้พระมารดาของพระราหุล ก็ทรงแต่งองค์พระกุมาร
แล้วส่งไปยังสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า นี่แน่ะพ่อ เจ้าจงดูพระสมณะ

นั้น ซึ่งมีวรรณแห่งรูปดังรูปพรหม มีวรรณดังทองคำ ห้อมล้อมด้วย
สมณะสองหมื่นรูป พระสมณะนี้เป็นบิดาของเจ้า พระสมณะนั่นมีขุมทรัพย์
ใหญ่ จำเดิมแต่พระสมณะนั้น ออกบวชแล้ว แม่ไม่เห็นขุมทรัพย์เหล่านั้น
เจ้าจงไปขอมรดกกะพระสมณะนั้นว่า ข้าแต่พระบิดา ข้าพระองค์เป็น
กุมาร ได้รับอภิเษกแล้วจักได้เป็นจักรพรรดิ ข้าพระองค์ต้องการทรัพย์
ขอพระองค์จงประทานทรัพย์แก่ข้าพระองค์ เพราะบุตรย่อมเป็นเจ้าของ
ทรัพย์มรดกของบิดา และพระกุมารก็ได้ไปยังสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า
นั่นแล ได้ความรักในฐานเป็นบิดา มีจิตใจร่าเริง กราบทูลว่า ข้าแต่
พระสมณะ ร่มเงาของพระองค์เป็นสุข แล้วได้ยืนตรัสถ้อยคำอื่น ๆ และ
ถ้อยคำอันสมควรแก่ตนเป็นอันมาก. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำภัตกิจแล้ว
ตรัสอนุโมทนาเสร็จแล้ว ทรงลุกจากอาสนะเสด็จหลีกไป. ฝ่ายพระกุมาร
กราบทูลว่า ข้าแต่พระสมณะ ขอพระองค์จงประทานทรัพย์มรดกแก่
ข้าพระองค์ ข้าแต่พระสมณะ ขอพระองค์จงประทานทรัพย์มรดกแก่
ข้าพระองค์ แล้วติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้าไป. พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ให้
พระกุมารกลับ แม้ปริวารชนก็ไม่อาจยังพระกุมารผู้เสด็จไปกับพระผู้มี-
พระภาคเจ้าให้กลับได้. พระกุมารนั้นได้ไปยังพระอารามนั้นแล พร้อม
กับพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยประการดังนี้.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า กุมารนี้ปรารถนา
ทรัพย์อันเป็นของบิดา ซึ่งเป็นไปตามวัฏฏะ มีแต่ความคับแค้น เอาเถอะ
เราจะให้อริยทรัพย์ 7 ประการ ซึ่งเราได้เฉพาะที่โพธิมัณฑ์แก่กุมารนี้
เราจะทำกุมารนั้นให้เป็นเจ้าของทรัพย์มรดกอันเป็นโลกุตระ จึงตรัสเรียก
ท่านพระสารีบุตรมาว่า สารีบุตร ถ้าอย่างนั้น ท่านจงให้ราหุลกุมารบวช.

พระเถระให้ราหุลกุมารนั้นบวชแล้ว ก็แหละเมื่อพระกุมารบวชแล้ว ความ
ทุกข์มีประมาณยิ่งเกิดขึ้นแก่พระราชา. พระองค์เมื่อไม่อาจทรงอดกลั้น
ความทุกข์นั้นได้ จึงเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสขอพรว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ดังหม่อมฉันขอโอกาส พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ไม่พึง
บวชบุตรที่บิดามารดายังไม่อนุญาต. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้พรแก่ท้าว
เธอ ในวันรุ่งขึ้นทรงกระทำภัตกิจในพระราชนิเวศน์ เมื่อพระราชา
ประทับนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในคราวที่
พระองค์ทรงทำทุกรกิริยา เทวดาตนหนึ่งเข้ามาหาหม่อมฉัน กล่าวว่า
พระโอรสของพระองค์สวรรคตแล้ว หม่อมฉันไม่เชื่อคำของเทวดานั้น
ได้ห้ามเทวดานั้นว่า บุตรของเรา ยังไม่บรรลุพระสัมโพธิญาณจะยังไม่
ตาย ดังนี้ จึงตรัสว่า บัดนี้ พระองค์จักทรงเชื่อได้อย่างไร แม้ในกาล
ก่อน คนเอากระดูกมาแสดงแล้วกล่าวว่า บุตรของท่านตายแล้ว พระองค์
ก็ยังไม่ทรงเชื่อ ดังนี้แล้วตรัส มหาธรรมปาลชาดก เพราะเหตุเกิด
เรื่องนี้ขึ้น ในเวลาจบพระกถา พระราชาทรงดำรงอยู่ในอนาคามิผล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้พระบิดาดำรงอยู่ในผลทั้ง 3 ด้วยประการ
ดังนี้แล้ว อันหมู่ภิกษุห้อมล้อมแล้วเสด็จไปยังกรุงราชคฤห์อีก ทรง
ประทับอยู่ที่ป่าสีตวัน. สมัยนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดี เอาเกวียน
500 เล่มบรรทุกสินค้าไปยังกรุงราชคฤห์ ได้ไปยังเรือนของเศรษฐีผู้เป็น
สหายรักของคน ได้สดับว่า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า อุบัติขึ้นในกรุง-
ราชคฤห์นั้น ในเวลาใกล้รุ่งจัด จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ทางประตูที่เปิด
ด้วยเทวานุภาพ ฟังธรรมแล้วตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ในวันที่สองได้ถวาย

มหาทานแก่พระสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ได้กราบทูลขอให้
พระศาสดาทรงรับปฏิญญา เพื่อต้องการเสด็จมายังนครสาวัตถี ในระหว่าง
ทางในที่ 45 โยชน์ ได้ให้ทรัพย์หนึ่งแสนสร้างวิหารในที่ทุก ๆ หนึ่ง
โยชน์ แล้วซื้อสวนของเจ้าเชตด้วยเงิน 18 โกฏิ โดยเอาเงินโกฏิปูจน
เต็มเนื้อที่ แล้วเริ่มการก่อสร้าง. ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีนั้นให้สร้าง
วิหารอันเป็นที่รื่นรมย์ใจในภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ ด้วยการบริจาคเงิน 18
โกฏิ คือให้สร้างพระคันธกุฎีเพื่อพระทศพลในท่ามกลาง ให้สร้างเสนา-
สนะที่เหลือ เช่นกุฎีเดี่ยว กุฎีคู่ กุฎีทรงกลม ศาลาหลังยาว ศาลาสั้น
และปะรำเป็นต้น และสระโบกขรณี ที่จงกรม ที่พักกลางคืน และที่พัก
กลางวัน ในอาวาสอันเป็นที่อยู่แห่งหนึ่ง โดยแยกเป็นส่วนบุคคลสำหรับ
พระมหาเถระ 80 รายล้อมพระคันธกุฎีนั้น เสร็จแล้วส่งทูตไปนิมนต์
พระทศพลให้เสด็จมา. พระศาสดาทรงสดับคำของทูตนั้นแล้ว มีภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่เป็นบริวาร เสด็จออกจากกรุงราชคฤห์ เสด็จถึงนครสาวัตถีโดย
ลำดับ.
ฝ่ายท่านมหาเศรษฐี ก็ตระเตรียมการฉลองพระวิหาร ในวันที่
พระตถาคตเสด็จเข้าพระเชตวัน ได้แต่งตัวบุตรด้วยเครื่องประดับทุกอย่าง
แล้วส่งไปพร้อมกับกุมาร 500 คน ผู้ตกแต่งประดับประดาแล้วเหมือนกัน
บุตรของเศรษฐีนั้นพร้อมด้วยบริวาร ถือธง 500 คันอันเรืองรองด้วยผ้า
5 สี อยู่ข้างหน้าของพระทศพล ธิดาของเศรษฐี 2 คน คือนางมหา
สุภัททา และนางจูฬสุภัททา พร้อมกับกุมาริกา 500 นาง ถือหม้อเต็ม
น้ำ ออกเดินไปข้างหลังของกุมารเหล่านั้น ภริยาของเศรษฐีประดับด้วย
เครื่องอลังการทั้งปวง พร้อมกับมาตุคาม 500 นาง ถือถาดมีของเต็ม

ออกเดินไปข้างหลังของกุมาริกาเหล่านั้น. ท่านมหาเศรษฐีนุ่งห่มผ้าใหม่
พร้อมกับเศรษฐี 500 คน ผู้นุ่งห่มด้วยผ้าใหม่เหมือนกัน มุ่งไปเฉพาะ
พระผู้มีพระภาคเจ้า เบื้องหลังของคนทั้งหมด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
กระทำอุบาสกบริษัทนี้ไว้เบื้องหน้า อันภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่แวดล้อม ทรง
กระทำระหว่างป่าให้เป็นดุจราดรดด้วยการราดด้วยน้ำทอง ด้วยพระรัศมี
จากพระสรีระของพระองค์ จึงเสด็จเข้าพระเชตวันวิหาร ด้วยพุทธลีลา
อันหาที่สุดมิได้ ด้วยพุทธสิริอันหาประมาณมิได้.
ลำดับนั้น ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จะปฏิบัติในวิหารนี้อย่างไร ? พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนคหบดี ถ้าอย่างนั้นท่านจงให้ประดิษฐานวิหาร
นี้ เพื่อภิกษุสงฆ์ผู้อยู่ในทิศทั้ง 4 ทั้งที่มาแล้วและยังไม่มา ท่านมหา-
เศรษฐีรับพระพุทธฎีกาว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า แล้วถือเต้าน้ำทองคำหลั่งน้ำ
ให้ตกลงเหนือพระหัตถ์ของพระทศพล แล้วได้ถวายด้วยคำว่า ข้าพระองค์
ขอถวายพระเชตวันวิหารนี้แก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานซึ่งอยู่
ในทิศทั้ง 4 ผู้มาแล้วและที่ยังไม่ได้มา. พระศาสดาทรงรับพระวิหารแล้ว
เมื่อจะทรงกระทำอนุโมทนา ได้ตรัสอานิสงส์การถวายวิหารว่า
เสนาสนะย่อมป้องกันความหนาวและความร้อน แต่นั้น
ย่อมป้องกันเนื้อร้าย งู ยุง น้ำค้าง และฝน แต่นั้นย่อมป้องกัน
ลม และแดดอันกล้า ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมบรรเทาไป. การถวาย
วิหารแก่สงฆ์เพื่อเร้นอยู่ เพื่อความสุข เพื่อเพ่งพิจารณา และ
เพื่อเห็นแจ้ง พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า เป็นทานอันเลิศ.

เพราะเหตุนั้นแล บุรุษผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเล็งเห็นประโยชน์
ของตน พึงสร้างวิหารอันรื่นรมย์ ถวายให้เป็นที่อยู่ในภิกษุผู้
เป็นพหูสูตเถิด.
อนึ่ง พึงถวายข้าว น้ำ ผ้า และเสนาสนะแก่ท่านเหล่า
นั้น ด้วยใจอันเลื่อมใสในท่านผู้ปฏิบัติตรง. เขาผู้ถวายวิหาร
รู้ธรรมใดในโลกนี้แล้ว จะเป็นผู้ไม่มีอาสวะปรินิพพาน ท่าน
เหล่านั้นย่อมแสดงธรรมนั้น อันเป็นเครื่องบรรเทาทุกข์ทั้งปวง
แก่เขา.

จำเดิมแต่วันที่สองไป ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เริ่มการฉลอง
วิหาร. การฉลองวิหารของนางวิสาขา 4 เดือนเสร็จ ส่วนการฉลองวิหาร
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี 9 เดือนเสร็จ. แม้ในการฉลองวิหาร ก็สิ้น
ทรัพย์ไปถึง 18 โกฏิทีเดียว. เฉพาะวิหารอย่างเดียวเท่านั้น ท่านได้
บริจาคทรัพย์นับได้ 54 โกฏิ ด้วยประการฉะนี้.
ก็ในอดีตกาล ในสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า วิปัสสี
เศรษฐีชื่อว่า ปุนัพพสุมิตตะ ซื้อที่โดยการปูลาดอิฐทองคำ สร้างสังฆา-
รามประมาณหนึ่งโยชน์ ลงในที่นั้นนั่นแหละ.
ในสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิขี เศรษฐีชื่อ สิริ-
วัฑฒะ
ซื้อที่โดยการปูลาดผาลทองคำ แล้วให้สร้างสังฆารามมีประมาณ 3
คาวุต ลงในที่นั้นนั่นแหละ.
ในสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า เวสสภู เศรษฐีชื่อว่า
โสตถิยะ ซื้อที่โดยปูลาดรอยเท้าช้างทองคำ แล้วสร้างสังฆารามมี
ประมาณกึ่งโยชน์ ลงในที่นั้นนั่นแหละ.

ในสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กกุสันธะ เศรษฐีชื่อว่า
อัจจุตะ ซื้อที่โดยการปูลาดอิฐทองคำ แล้วสร้างสังฆารามมีประมาณหนึ่ง
คาวุต ลงในที่นั้นนั่นแหละ.
ในสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า โกนาคมนะ เศรษฐี
ชื่อว่า อุคคะ ซื้อที่โดยการปูลาดเต่าทองคำ แล้วสร้างสังฆารามมีประมาณ
กึ่งคาวุต ลงในที่นั้นนั่นแหละ.
ในสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสปะ เศรษฐีชื่อว่า
สุมังคละ ซื้อที่โดยการปูลาดไม้เท้าทองคำ แล้วสร้างสังฆารามมีประมาณ
6 กรีส ลงในที่นั้นนั่นแหละ.
แต่ในสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย เศรษฐีชื่อว่า
อนาถบิณฑิกะ ซื้อที่โดยการปูลาดทรัพย์โกฏิกหาปณะ แล้วสร้างสังฆาราม
มีประมาณ 8 กรีส ลงในที่นั้นนั่นแหละ. ได้ยินว่า สถานที่นี้เป็นสถานที่
ที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์มิได้ทรงละเลยทีเดียว.
ตั้งแต่บรรลุพระสัพพัญญุตญาณที่มหาโพธิมัณฑ์ จนกระทั่งถึงเตียง
มหาปรินิพพาน พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ สถานที่ใด ๆ สถานที่
นี้นั้น พึงทราบว่า ชื่อว่า สันติเกนิทาน ด้วยประการฉะนี้.
จบนิทานกถา

พรรณนาอัพภันตรนิทาน


ศัพท์ว่า อถ ในคาถานี้ว่า
ลำดับนี้ ท่านทั้งหลายผู้มีใจบริสุทธิ์ จงสดับพุทธาปทาน
ว่า เราเป็นพระธรรมราชาสมบูรณ์ด้วยบารมี 30 ถ้วน ซึ่ง
ใคร ๆ นับไม่ได้
ดังนี้.
เป็นบทนิบาตใช้ในอรรถว่า แสดงลำดับแห่งอธิการ คือ เป็นบทนิบาต
ที่ประกอบด้วยวิภัตติ ในบรรดานิบาตทั้งสอง ที่ประกอบด้วยวิภัตติ และ
ไม่ประกอบวิภัตติ. อีกอย่างหนึ่ง
อถ ศัพท์เป็นไปในอรรถว่า อธิการ, มงคล, อรรถว่า
สำเร็จ, อวธารณะ, อรรถว่า ต่อเนื่องกันไป, และอรรถว่า
ปราศจากไป.
จริงอย่างนั้น เพราะท่านกล่าวไว้ว่า
อธิการย่อมบ่งบอกถึงกิจอันยิ่ง ฐานะอันยิ่ง และอรรถ
อันยิ่ง ท่านกล่าวไว้โดยภาวะอันประเสริฐที่สุดและเจริญที่สุด

ดังนี้.
(เชื่อมความว่า) ท่านทั้งหลายจงฟังอปทาน (คือเหตุ) อันประกอบ
ด้วย อถ ศัพท์อันมีอธิการเป็นอรรถ โดยเป็นกิจอันยิ่งแห่งบารมีธรรม
30 ถ้วนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือ โดยภาวะอันประเสริฐที่สุดและเจริญ
ที่สุด. เชื่อมความว่า ท่านทั้งหลายจงฟังอปทานอันประกอบด้วย อถ
ศัพท์ซึ่งมีมงคลเป็นอรรถ โดยพระบาลีว่า การบูชาผู้ควรบูชา นั่น